UFABETWINS มองโกเลีย ฟุตบอลชุดใหญ่ไม่โดดเด่น แต่ทำไมเป็นขาประจำเจ้าภาพบอลเยาวชน

admins Avatar

UFABETWINS มองโกเลีย ฟุตบอลชุดใหญ่ไม่โดดเด่น แต่ทำไมเป็นขาประจำเจ้าภาพบอลเยาวชน
Posted on :

UFABETWINS ช้างศึกรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ต้องบินไปแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-23

มองโกเลีย ฟุตบอลชุดใหญ่ไม่โดดเด่น แต่ทำไมเป็นขาประจำเจ้าภาพบอลเยาวชน

ช้างศึกรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ต้องบินไปแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-23 ที่ประเทศมองโกเลีย เรื่องนี้นับเป็นความวุ่นวายไม่น้อย…

อาหารการกินที่แตกต่าง, สภาพอากาศติดลบ รวมถึงการเดินทางที่ยากลำบาก จนต้องจ้างเครื่องบินเช่าเหมาลำเพื่อลงจอดกลางหุบเขา และประสานงานกับเอกอัครราชทูตมองโกเลีย นี่คงทำให้ใครหลายคนคิดว่า ทำไมเราต้องไปเตะบอลที่มองโกเลีย ทั้งที่เขาไม่ใช่มหาอำนาจแห่งโลกฟุตบอล ? แต่ความจริงแล้ว มองโกเลีย เคยเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับเยาวชนชิงแชมป์เอเชียมาแล้วทุกรุ่น … แปลกใช่ไหมล่ะ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น ?

Main Stand จะพาไปหาคำตอบ ที่สะท้อนให้เห็นแนวทางการพัฒนาฟุตบอลในภาพรวมของทวีปเอเชีย

ขาประจำเจ้าภาพบอลเยาวชน

หากผู้อ่านลองใช้เวลาสักหนึ่งนาที เพื่อนึกความสำเร็จของฟุตบอลทีมชาติมองโกเลีย เชื่อว่าคงไม่มีใครนึกออก เพราะประเทศแห่งนี้ไม่ส่งทีมฟุตบอลเข้าแข่งขันในรายการนานาชาติแม้แต่รายการเดียว ตั้งแต่ในยุค 1960s จนถึงปี 1998

การห่างหายจากวงการฟุตบอลนานเกือบ 4 ทศวรรษ ส่งผลให้ฟุตบอลมองโกเลียขาดการพัฒนาและตามหลังชาติแถวหน้าในเอเชียไปไกล พวกเขาจึงไม่เคยเข้าร่วมแข่งขันรายการระดับเมเจอร์ ทั้ง ฟุตบอลโลก, เอเชียนคัพ หรือแม้แต่ฟุตบอลถ้วยเล็กของชาติเอเชีย อย่าง เอเอฟซี ชาเลนจ์ คัพ ที่จัดการแข่งขันในช่วงปี 2006-14 มองโกเลียก็ยังไม่เคยเข้าร่วมการแข่งขันเลยแม้แต่ครั้งเดียว

เมื่อฟุตบอลชุดใหญ่ไปไม่รุ่ง ความหวังทั้งหมดของฟุตบอลมองโกเลียจึงไปอยู่ที่ชุดเยาวชน แต่ผลงานของแข้งรุ่นเยาว์ชาวมองโกเลียก็ย่ำแย่ไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นรุ่น U-23, U-19 หรือ U-16 ไม่มีนักเตะมองโกเลียชุดไหนเคยผ่านเข้าสู่การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์เอเชียแม้แต่ครั้งเดียว

 

ความจริงแล้ว ฟุตบอลเยาวชนมองโกเลียไม่เคยมีความพร้อม จนกระทั่งทศวรรษล่าสุด ทัวร์นาเมนต์แรกที่พวกเขาส่งทีมเข้าแข่งขันรอบคัดเลือก หลังจากปฏิเสธการเข้าร่วมมาอย่างยาวนานคือ ฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-20 เมื่อปี 2014  ก่อนตามมาด้วยการส่งทีมเยาวชนทั้ง 3 รุ่น ลงคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย ที่จัดขึ้นในปี 2016

แน่นอนว่า มองโกเลียไปไม่รอดทั้งรุ่น U-23, U-19 และ U-16 แต่อย่างน้อยพวกเขาก็ประสบความสำเร็จแรกบนเวทีฟุตบอล ด้วยการรับบทบาทเจ้าภาพจัดการแข่งขันรอบคัดเลือกกลุ่ม K ของฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียรุ่น U-16 ปี 2016 โดยผู้มาเยือนอีกสองประเทศ ถือเป็นชาติที่มีความแข็งแกร่งทางฟุตบอลและเศรษฐกิจเหนือกว่ามองโกเลียทั้งสิ้น นั่นคือ ญี่ปุ่น และ ฮ่องกง

การที่มองโกเลียถูกเลือกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรอบคัดเลือกของฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะหลังจากลองจัดการแข่งขันทัวร์นาเมนต์แรกแล้ว หลังจากนั้น มองโกเลียกลายเป็นขาประจำในการจัดการแข่งขันระดับนี้เสมอมา

สำหรับการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย ในปี 2018 มองโกเลียรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรอบคัดเลือกในรุ่น U-19 และ U-16 ส่วนการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชียที่จัดขึ้นในปี 2020 มองโกเลียขยับขึ้นมาเป็นเจ้าภาพในรุ่น U-23 และยังคงเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลรุ่นนี้ในการแข่งขันปี 2022 ซึ่งประเทศไทยกำลังจะเดินทางไปร่วมแข่งขัน

 

ถือเป็นเรื่องน่าประหลาดใจไม่น้อยที่ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย หรือ AFC พยายามผลักดัน มองโกเลีย ให้รับบทบาทเจ้าภาพจัดการแข่งขันรอบคัดเลือกฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย ทั้งที่ประเทศแห่งนี้ไม่เคยเข้าแข่งขันรอบสุดท้าย เมื่อบวกกับการเดินทางที่ยากลำบาก รวมถึงสภาพเศรษฐกิจของประเทศที่ไม่ดีนัก จึงเกิดเป็นคำถามคาใจว่า ทำไม AFC ถึงพยายามจะผลักดันมองโกเลียขนาดนี้ ?

เพื่อยกระดับฟุตบอลเอเชีย 

การกระจายบทบาทเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลสู่ประเทศที่ไม่ประสบความสำเร็จในโลกลูกหนัง ไม่ถือเป็นเรื่องใหม่ต่อสายตาชาวโลกแต่อย่างใด เพราะตั้งแต่ปี 2010 สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ FIFA ตัดสินใจเลือกกาตาร์เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2022 แม้ไม่เคยผ่านการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายเลย

คลิกเลย >>> https://www.ufabetwins.com/
อ่านเพิ่มเติม >>> บ้านผลบอล