UFABETWINS “ผมต้องเอาชีวิตรอดให้ได้” โรแบร์โต คาเนสซา หนึ่งในผู้โดยสารในเที่ยวบิน 571 กล่าว
การรอดชีวิตจากเครื่องบินตกถือเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ แต่การเอาตัวรอดจากเครื่องบินตกบนเทือกเขาอันหนาวเหน็บ ที่ไร้ซึ่งอาหาร และเสื้อผ้าที่เหมาะสม นั้นยากยิ่งกว่า พบกับเรื่องราวของทีมรักบี้อุรุกวัย กับภารกิจ “ต้องรอด” ที่ทำให้พวกเขาต้องทำในสิ่งที่ไม่มีทางเลือก ด้วยการกินเนื้อมนุษย์ ติดตามเรื่องราวของพวกเขาได้ที่นี่ โศกนาฏกรรมที่ไม่ทันตั้งตัว มันดูเหมือนเป็นวันธรรมดาวันหนึ่งของพวกเขา เมื่อ โอลด์ คริสเตียน คลับ สโมสรรักบี้จากประเทศอุรุกวัย
ต้องเดินทางไปแข่งรักบี้ที่ประเทศชิลี ทำให้ ดาเนียล ฮวน ประธานสโมสรอำนวยความสะดวกด้วยการเช่าเครื่องบินเหมาลำจากกองทัพอากาศอุรุกวัย เป็นพาหนะรับส่ง เที่ยวบิน 571 คือชื่อของเที่ยวบินนั้น มันเป็นเที่ยวบินที่มีผู้โดยสาร 40 คนและลูกเรืออีก 5 คน ที่นอกจากทีมรักบี้ ยังมีเพื่อน และครอบครัวที่ตามมาเชียร์ โดยออกเดินทางจากสนามบินมอนเตวิเดโอ เมืองหลวงของอุรุกวัยในวันที่ 12 ตุลาคม 1972 และมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่กรุงซานติอาโก ประเทศชิลี
อย่างไรก็ดี ด้วยสภาพอากาศที่ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก โดยเฉพาะพายุหิมะบนเทือกเขาแอนดีสที่ต้องบินผ่าน ทำให้กัปตันต้องนำเครื่องลงจอดชั่วคราวและพักค้างคืนที่เมนโดซา ประเทศอาร์เจนตินา เพื่อความปลอดภัย บ่ายของวันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม เครื่องบินก็ทะยานจากสนามบินอีกครั้ง แต่เนื่องจากผู้โดยสารที่เต็มลำ ทำให้เครื่องบินไม่สามารถบินได้สูงกว่า 22,500 ฟุต (ราว 6,900 เมตร) จึงต้องใช้เส้นทางทางใต้ที่ปลอดภัยกว่า อย่างไรก็ดี ด้วยสภาพอากาศที่ย่ำแย่ โดยเฉพาะ
หมอกที่ลงจัดจนบดบังทัศนวิสัย ทำให้กัปตันเข้าใจผิดว่า พวกเขากำลังเข้าใกล้เมือง Curico ของชิลี ทั้งที่จริงมันยังอยู่ห่างออกไปถึง 70 กิโลเมตร การคิดเช่นนั้น ทำให้นักบิน ลดระดับการบินเพื่อลงจอด และทำให้พวกเขาเจอกับภูเขาสูงตระหง่านที่อยู่ตรงหน้า นักบินพยายามเชิดหัวเครื่องขึ้น แต่ไม่ทันการณ์ เครื่องบินกระแทกเข้ากับภูเขาจนทำให้ส่วนหางหลุด และดูดผู้โดยสารกับลูกเรือออกไปทางนั้น “ผมกระเด็นไปข้างหน้าจากพลังอันมหาศาล และได้รับแรงกระแทก
อย่างแรงที่หัว ผมคิดว่าผมต้องตายแน่ๆ” โรแบร์โต คาเนสซา หนึ่งในผู้โดยสารในเที่ยวบินลำนั้นกล่าวในหนังสือของเขา “ผมจับเก้าอี้ไว้แน่น และท่อง Hail Mary บางคนร้องไห้และพูดว่า ‘พระเจ้า ช่วยลูกด้วย ช่วยลูกด้วย’ มันเป็นฝันร้ายกว่าที่จะจินตนาการได้ เด็กอีกคนร้องว่า ผมมองไม่เห็น ตอนที่เขาขยับหัว ผมเห็นสมองของเขา และเศษเหล็กไปอยู่ที่ท้องของเขา” เครื่องบินยังบินต่อไปได้ แต่แค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น เพราะหลังจากนั้นปีกของเครื่องบินก็ไปกระแทกกับภูเขา
จนใบพัดหลุดออกมาตัดกลางเครื่องบินและเกิดเป็นรู พร้อมกับดูดผู้โดยสารอีกสองคนออกไปนอกเครื่องบิน หลังจากนั้นมันก็สูญเสียการควบคุมอย่างสมบูรณ์แบบ และทำให้ส่วนหน้าของเครื่องบินไถลลงไปตามความลาดเอียงของภูเขาด้วยความเร็วถึง 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก่อนที่จะชนเข้ากับกองหิมะจนหยุดนิ่ง พร้อมคร่าชีวิตนักบินและผู้ช่วยนักบินในห้องคนขับ หลังจากเครื่องบินแน่นิ่ง ยังเหลือผู้รอดชีวิตอยู่ 33 ราย แต่ไม่รู้ว่าเป็นความโชคดีหรือโชคร้าย
เมื่อจุดที่พวกเขาอยู่เป็นเทือกเขาที่สูงชันและปกคลุมไปด้วยหิมะ และที่สำคัญพวกเขาก็ไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหนของชิลี ความหวังที่ลางเลือน ด้วยสภาพอากาศที่หนาวเหน็บบนภูเขาสูง และการบาดเจ็บจากเครื่องบินตก ทำให้คืนแรกมีผู้ต้องสังเวยชีวิตไปอีก 5 คน และอีก 6 คนตามไปหลังจากวันนั้น ส่วนคนที่เหลืออยู่ก็พยายามเอาตัวรอด พวกเขานำสิ่งที่เหลืออยู่มาดัดแปลง เช่นนำชิ้นส่วนของเครื่องบิน กระเป๋า และเศษซากอื่น ๆ มาทำเป็นเพิงพักพิง
เอาเบาะรองนั่งมาทำเป็นรองเท้าลุยหิมะ หรือเอาที่บังแดดจากห้องนักบินและสายชั้นในมาทำเป็นแว่นตากันหิมะ ผู้รอดชีวิตยังคิดหาวิธีละลายหิมะเพื่อทำเป็นน้ำดื่ม และพยายามใช้ลิปสติก เขียนอักษร SOS ที่ลำเครื่องบิน เพื่อขอความช่วยเหลือ แต่เอาเข้าจริงพวกเขาไม่มีลิปสติกมากพอที่จะทำแบบนั้น นอกจากนี้ มันไม่ใช่เรื่องง่าย ที่พวกเขาต้องดำรงชีวิตภายใต้อุณหภูมิ -30 องศาเซลเซียส โดยที่ไม่มีทั้งยาหรือเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับสภาพอากาศเช่นนี้ โชคยังดีที่ในซาก
เครื่องบิน ผู้รอดชีวิตบังเอิญเจอกับวิทยุที่ยังใช้งานได้ และทำให้รู้ว่าในตอนนี้ ทีมกู้ภัยจากอาร์เจนตินา ชิลี และอุรุกวัย กำลังพยายามค้นหาพวกเขาอย่างเต็มความสามารถ นับตั้งแต่วันแรกที่เครื่องบินหายไปจากจอเรดาร์ แต่ข่าวดีก็อยู่กับพวกเขาได้ไม่นาน เนื่องด้วยสภาพอากาศที่เลวร้าย และขนาดของเทือกเขาที่กว้างเกินไป ทำให้การค้นหาต้องยุติลงในวันที่ 11 และมันก็ทำให้ความหวังในการรอดชีวิตของพวกเขาต้องลางเลือน เพราะนอกจากการต้องเอาตัวรอดภายใต้
สภาพอากาศที่หนาวจัดแล้ว พวกเขายังประสบปัญหาขาดแคลนอาหารอย่างหนัก ในช่วงแรกกลุ่มผู้รอดชีวิตมีเพียงช็อคโกแลต 8 แท่ง หอยแมลงภู่ 1 กระป๋อง แยมอีก 3 ขวด ถั่วและผลไม้แห้ง อมยิ้มไม่กี่แท่ง และไวน์อีก 1 ขวดเท่านั้น แม้จะพยายามยืดอายุของอาหารให้นานที่สุด เช่นผู้ชายหนึ่งคนจะได้กินถั่ว 1 เม็ดใน 3 วัน แต่ด้วยจำนวนคนที่ไม่น้อย ก็ทำให้อาหารของพวกเขาร่อยหรออย่างรวดเร็ว และหมดเกลี้ยงภายในหนึ่งสัปดาห์ “ในความสูงระดับนั้น ร่างการต้องการ
แคลอรีเยอะมาก มันจึงทำให้พวกเราหิวโหยอย่างหนัก ไปพร้อมกับความสิ้นหวังในการหาอาหาร” นันโด แปร์ราโด ที่มีอายุเพียง 22 ปีในตอนนั้นเขียนไว้ในหนังสือของเขา และความหิวโหย ก็ทำให้พวกเขาตัดสินใจทำในสิ่งที่ไม่อยากทำที่สุด กินเพื่อรอด ท่ามกลางความหวังอันลางเลือน และการขาดแคลนอาหาร ภายใต้สถานการณ์ที่เลวร้าย ผู้รอดชีวิต ก็เหลือบไปเห็นศพของผู้เสียชีวิต ที่สภาพยังดีอยู่ จากความเย็นภูเขาหิมะ ที่ช่วยรักษาความสดเอาไว้
“เป้าหมายร่วมกันของพวกเราคือเอาชีวิตรอด แต่เราขาดแคลนอาหาร” โรแบร์โต คาร์เนสซา ย้อนความทรงจำในหนังสือของเขาเมื่อปี 2016 “เราอยู่มานาน แต่ตั้งแต่สิ่งที่เราเจอบนเครื่องบินหมดลง เราไม่เจอพืชหรือสัตว์อะไรเลย” “เรารู้คำตอบ แต่มันเลวร้ายเกินไปที่จะคิด ศพเพื่อนของเราและเพื่อนร่วมทีม ถูกเก็บไว้ด้วยหิมะและน้ำแข็ง ที่ทำให้ยังสด การได้รับโปรตีนน่าจะช่วยให้เรารอดได้ แต่เราควรทำอย่างนั้นหรือ?” พวกเขาทุกคนต่างเป็นคาทอลิค จึงรู้สึกกังวลอย่างมาก
ในเรื่องศีลธรรมหากกินร่างผู้เสียชีวิต แถมคนตายก็ไม่ใช่คนแปลกหน้า เพราะต่างเป็นเพื่อน ครอบครัว และเพื่อนร่วมทีมของพวกเขาทั้งสิ้น “เราสงสัยว่าเราจะบ้าถึงขนาดคิดเรื่องอย่างนี้หรือเปล่า เราจะกลายเป็นสัตว์ป่าดุร้ายหรือเปล่า หรือมันเป็นสิ่งเดียวที่ต้องทำ ?” คาเนสซากล่าวต่อ “ผมกำลังเผชิญกับความกดดันจากความกลัวอย่างแท้จริง” แต่ความหิวโหยก็เอาชนะ พวกเขาตัดสินใจว่าจะกินเนื้อของผู้เสียชีวิต เพราะมันเป็นทางเดียวที่ทำให้พวกเขารอดชีวิตไป
จากความเลวร้ายนี้ได้ นอกจากนี้ พวกเขายังได้ทำข้อตกลงร่วมกันว่าถ้าหากใครเสียชีวิตไปก็สามารถกินเนื้อของคนนั้นได้ คาเนสซา ที่ตอนนั้นเป็นนักศึกษาแพทย์และอายุเพียง 19 ปี กลายเป็นผู้นำในครั้งนี้ เขาใช้เศษแก้วจากกระจกที่แตก ตัดร่างผู้เสียชีวิตออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และนำไปวางไว้บนแผ่นโลหะ “ผมไม่เคยลืมการผ่าครั้งแรกที่เกิดขึ้น 9 วันหลังเครื่องบินตก” คาเนสซากล่าวในหนังสือของเขา “เราวางเนื้อแช่แข็งบาง ๆ ไว้บนแผ่นโลหะ ในที่สุดพวกเราก็กินเนื้อนั้น
ตอนที่เราทนไม่ไหว” “เราแต่ละคนต่างตัดสินใจในช่วงเวลาของตัวเอง และพอเราตัดสินใจไปแล้ว มันหันหลังกลับไม่ได้แล้ว” ศพของนักบินและผู้ช่วยนักบิน คือรายแรก ๆ ที่พวกเขานำมากิน เนื่องจากผู้รอดชีวิตไม่รู้จักพวกเขาเป็นการส่วนตัว แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะกินเนื้อผู้เสียชีวิต ผู้หญิงคนหนึ่งปฏิเสธที่จะทำแบบนี้ ซึ่งทำให้น้ำหนักของเธอลดลงจาก 60 กิโลกรัม เหลือเพียง 25 กิโลกรัม อย่างไรก็ดี การมีแหล่งอาหารเป็นแค่การต่อชีวิตของพวกเขาเท่านั้น เพราะหลังจากนั้น
ไม่นาน ก็เกิดพายุหิมะพัดถล่มลำเครื่องบินที่พวกเขาใช้เป็นที่หลับนอน และทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 8 ราย (แน่นอนว่าผู้เสียชีวิตจะถูกนำมาใช้เป็นอาหารตามที่ตกลงไว้) อุบัติเหตุครั้งนั้น ทำให้ผู้รอดชีวิตรู้ตัวว่าการรอความช่วยเหลืออยู่ที่นี่ ไม่น่าจะทำให้พวกเขารอดไปได้ เพราะไม่รู้ว่าจะมีหายนะอะไรรออยู่ตรงหน้าอีก พวกเขาอาจจะเจอหิมะถล่ม หรือป่วยหนักจนรักษาไม่ได้ จึงต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้พ้นจากสถานการณ์นี้ ออกไปสู้หรืออยู่เพื่อตาย ผู้รอดชีวิตคุยกันว่าการ
ข้ามภูเขาไปขอความช่วยเหลือน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่มันไม่ง่ายขนาดนั้น เพราะนอกจากจะไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ตรงส่วนไหนของชิลีแล้ว หากออกไปแล้วเจอกับพายุหิมะก็ไม่ต่างกับการฆ่าตัวตาย อย่างไรก็ดี การอยู่ที่เดิมทำให้ก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น แถมยิ่งเลวร้ายกว่าเดิม เมื่อมันทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ป่วย ก็มีจำนวนที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีทั้งบาดเจ็บจากหิมะถล่มครั้งก่อน ขาดสารอาหาร ไปจนถึงป่วยจากการอยู่ที่ในสูง ด้วยเหตุนี้ทำให้วันที่ 12 ธันวาคมหรือ
2 เดือนหลังเครื่องบินตก คาเนสซา และ แปร์ราโด ตัดสินใจว่าพวกเขาสองคนจะออกไปหาคนมาช่วย แม้ว่าจะพวกเขาไม่มีแผนที่ อาหาร หรือประสบการณ์ในการปีนเขามาก่อนก็ตาม พวกเขาสองคนมุ่งหน้าไปทางตะวันตกจากจุดที่เครื่องบินตก ในเส้นทางที่ยากลำบาก และอากาศที่เย็นจัดในฤดูหนาว และในวันที่ 9 ของการเดินทาง พวกเขาตัดสินใจเปลี่ยนเส้นทางไปที่หุบเขา มันกลายเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เมื่อที่แห่งนั้นเขาได้พบกับคนเลี้ยงสัตว์ที่บังเอิญผ่านมา
แต่อุปสรรคก็คือพวกเขาอยู่คนละฝั่งของแม่น้ำ และไม่ว่าจะพูดอย่างไร อีกฝั่งก็ไม่ได้ยิน จนท้ายที่สุดคนเลี้ยงสัตว์ ส่งสัญญาณให้พวกเขารออยู่ตรงนี้ก่อนและจะกลับมาในวันรุ่งขึ้น ผู้รอดชีวิตทั้งสองจึงได้แต่รอ และได้เจอกับคนเลี้ยงสัตว์จริง ๆ ในวันต่อมา ครั้งนี้พวกเขากลับมาพร้อมกับกระดาษและดินสอ ก่อนจะเอามันพันไว้กับก้อนหินแล้วขว้างมาทางพวกเขา เมื่อ คาเนสซา และ ปาร์ราโด ได้รับดินสอและกระดาษ พวกเขาจึงเขียนกลับไปว่าพวกเขาคือผู้รอดชีวิตจากเหตุ
เครื่องบินตกบนภูเขา และมีคนอีก 14 คนที่กำลังรอความช่วยเหลือแล้วขว้างกลับไป จากนั้นในวันที่ 22 ธันวาคม เฮลิค็อปเตอร์ของกองทัพชิลี 3 ลำก็ระดมการค้นหา และหลังจาก 72 วันจากเหตุเครื่องบินตก พวกเขาก็เจอกับผู้รอดชีวิตทั้ง 16 คน ซึ่งถูกนำออกมาจากภูเขาในสภาพที่กระดูกหัก หิมะกัด ไข้ที่เกิดจากความสูง ขาดน้ำ และขาดสารอาหาร การเอาชีวิตรอดจากเหตุเครื่องบินตกกว่า 2 เดือนบนภูเขาหิมะ การเป็นเรื่องเหลือเชื่อ เพราะมันแทบเป็นไปไม่ได้ภายใต้
สถานการณ์เช่นนั้น ทำให้เรื่องราวของพวกเขากลายเป็นที่โด่งดังในชื่อ “ปาฏิหาริย์แห่งแอนดีส” เรื่องราวของพวกเขาถูกนำไปเขียนเป็นหนังสือหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็น ไม่ว่าจะเป็น Survive! หรือ Alive: The Story of the Andes Survivors หรือ I Had to Survive: How a Plane Crash in the Andes Inspired My Calling to Save Lives ที่เขียนโดย คาเนสซา เอง แถมในปี 1993 มันยังถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนต์ฮอลลีวูดในชื่อ Alive
ที่นำแสดงโดย อีธาน ฮอว์ก อย่างไรก็ดี แม้จะรอดมาได้ แต่สำหรับผู้รอดชีวิตพวกเขามีปัญหาทางจิตใจ จากความรู้สึกผิดที่กินเนื้อมนุษย์ แม้ว่านักบวชคาทอลิค จะยืนยันว่าสิ่งที่พวกเขาทำไม่ได้ผิดบาป เพราะมันเป็นไม่กี่ทางเลือกที่ทำให้พวกเขามีชีวิตรอดก็ตาม
คลิ๊กเลย >>> UFABETWINS
อ่านข่าวเพิ่ม >>> บ้านผลบอล